วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การละเล่นม้าก้านกล้วย




ม้าก้านกล้วย

การเล่นม้าก้านกล้วยทำให้เด็กสนุกสนาน เกิดจินตนาการ ได้ออกกำลังกาย โดยเด็กจะใช้ก้านกล้วยมาทำเป็นหัว หู และหางม้า แล้วสมมติตัวเองว่าเป็นคนขี่ม้าพาวิ่ง ม้าก้านกล้วยเป็นการเล่นพื้นบ้านของเด็กที่ดีอีกชนิดหนึ่ง ที่ถือเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่น ให้เด็กๆ ได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน
วัสดุอุปกรณ์
- ก้านกล้วย , มีด , ไม้กลัด , เชือก หรือเชือกฟางก็ได้แล้วแต่เราสะดวกในการหา

วิธีทำม้าก้านกล้วย

- ตัวม้า ตัดก้านกล้วยขนาดใหญ่มาหนึ่งก้าน ให้มีความยาวประมาณ1 เมตรขึ้นไป ใช้มีดคมเลาะใบกล้วยถึงปลาย เอาส่วนกลางก้านกล้วยมาทำเป็นลำตัว
- หางม้า ปลายก้านกล้วยให้เหลือส่วนที่เป็นใบตองไว้เล็กน้อย เพื่อสมุมติให้เป็นหางม้า
- หัวม้า ก้านกล้วยตรงโคนที่มีขนาดใหญ่ ให้ใช้มีดปาดทั้งสองด้าน ความยาวประมาณ 10 ซ.
- คอม้า หักคอให้เป็นคอม้า มีหูสองข้างตั้งชันแล้วใช้ไม้กลัด แทงตรงก้านหัวให้แน่นเพื่อเป็นหัวม้า
- บังเหียนตัดเชือก ให้มีความยาวพอประมาณ ผูกตรงหัวและตรงท้ายสำหรับสะพายหรือไว้คล้องไหล่ผู้เล่น

วิธีการเล่น

ให้นำก้านกล้วยที่เปลี่ยนสภาพมาเป็นก้านกล้วยโดยสมบูรณ์แล้ว ขึ้นขี่บนก้านกล้วยแล้ว
ออกวิ่ง จากนั้นส่งเสียงร้อง ฮี้ฮี้ แต่ถ้ามีผู้เล่น2คนขึ้นไป ก็สามารถจัดเป็นการแข่งขันขึ้นได้ โดยฝ่ายไหนวิ่งเร็วที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะ

ประโยชน์และคุณค่าการเล่นม้าก้านกล้วย

- การทำท่าเหมือนม้า ทำให้เด็กมีจินตนาการ และ กล้าแสดงออก
- เป็นการออกกำลังกายอย่างดีสำหรับเด็กในวัยนั้น
- รักษาประเพณีพื้นบ้านของไทย

ในปัจจุบันนี้ การขี่ม้าก้านกล้วยเริ่มเลือนหายไปจากสังคมปัจจุบันแล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางสังคมและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปจากแต่ก่อน จึงทำให้การละเล่นเด็กไทยต่างๆ ลดลงไปมาก แต่การขี่ม้าก้านกล้วยก็ยังสามารถพบได้ตามงานวัฒนธรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว และยังกลายเป็นสัญลักษณ์ ในงานต่างๆ ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย เช่น ตัวนำโชคของ การแข่งขันเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 20 หรือ สุโขไทยเกมส์ ซึ่งเป็นรูปเด็กชายผมจุกเล่นขี่ม้าก้านกล้วย


3 ความคิดเห็น:

  1. ภาคอะไรจังหวัดอะไร

    ตอบลบ
  2. การเล่นม้าก้านกล้วยเป็นของรัชกาลที่เท่าไหล่หรอค่ะ
    เเบบว่าสร้างตอนที่รัชกาลที่เท่าไหร่อ่ะค่ะ

    ตอบลบ