วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การละเล่นรีรีข้าวสาร







รีรีข้าวสาร

เป็นการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยในสมัยก่อน ซึ่งในปัจจุบันนี้อาจจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยหนัก เนื่องจากวัฒนธรรมในชาติต่างๆ ได้เข้ามาแผ่หลายในประเทศไทยเรา จึงทำให้การละเล่นพื้นบ้านแบบไทยๆได้หายสาปสูญไปในยุคสมัยนี้

กติกาการเล่น

จับไม้สั้นไม้ยาว ว่าใครจะเป็นประตู ให้ผู้เล่น 2 คน ยืนเอามือประสานกันเหนือศีรษะเป็นประตูโค้ง คนอื่นๆ เกาะไหล่กันลอดใต้โค้งไปเรื่อยๆ สองคนที่เป็นประตูจะร้องเพลงประกอบเวลา แถวลอดใต้โค้ง หัวแถวจะต้องเดินอ้อมหลังคนที่เป็นประตูครั้งละหน เมื่อจบเพลงสอง คนที่เป็นประตูจะกระดุกแขนลงกั้นคนสุดท้ายให้อยู่ระหว่างกลาง คัดออกไป คนข้างหลังต้องระวังตัวให้ดี ไม่เช่นนั้นตัวเองจะต้องออกจากการเล่น ต้องผ่านให้ได้หมดทุกคนจึงจะจบ

เนื้อเพลง

รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน คดข้าวใส่จาน พานเอาคนข้างหลังไว้ให้ดี
เมื่อถึงคำสุดท้าย ซุ้มประตูก็จะลดมือลง กักตัวผู้เล่นที่เดินผ่านมา ผู้เล่นที่ถูกกักตัวจะถูกคัดออก หรืออาจจะถูกลงโทษด้วยการให้รำหรือทำท่าทางอะไรก็ได้

ประโยชน์และคุณค่าจากการเล่นรีรีข้าวสาร

การละเล่นชนิดนี้ เป็นการเล่นของเด็กอายุระหว่าง 4 – 6 ปี เล่นรวมกันทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย เด็กจะได้รับประโยชน์ การเล่น เช่น
- เพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใส ซึ่งจะทำให้เด็กๆยอมรับในกฎเกณฑ์กติกาในการเล่น
- ได้ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายให้แข็งแรง
- หัดให้เด็กมีไหวพริบ ปฏิภาณ และรู้จักใช้กลยุทธที่จะให้ตนรอดจากการถูกคล้องตัวไว้
- หัดให้เด็กรู้จักทำงานเป็นกลุ่มโดยหัวแถวต้องพยายามพาแถว โดยเฉพาะคนสุดท้ายให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวให้ได้


การละเล่นหมากเก็บ

 



หมากเก็บ

ผู้เล่น  จำนวน 2 - 4 คน

วิธีเล่น

ใช้ก้อนกรวดที่มีลักษณะกลมๆ 5 ก้อน เสี่ยงทายว่าใครจะเล่นก่อน โดยวิธีขึ้นร้าน คือ ถือหมากทั้งห้าเม็ดไว้แล้วโยนพลิกหงายหลังมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับอีกที ใครเหลือหินอยู่ในหินอยู่ในมือมากที่สุดคนนั้นเล่นก่อน มีทั้งหมด 5 หมาก หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆ กัน เลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ควรใช้เม็ดกรวดที่ห่างที่สุด โยนเม็ดนำขึ้นแล้วเก็บทีละเม็ดพร้อมกับรับลูกนำที่หล่นลงมาให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" ขณะที่หยิบเม็ดที่ทอดนั้น ถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นถือว่า ตาย
หมากที่ 2 เก็บทีละ 2 เม็ด
หมากที่ 3 เก็บทีละ 3 เม็ด
หมากที่ 4 ใช้โปะ ไม่ทอด คือ ถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้นแล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้
"ขี้นร้าน" ได้กี่เม็ดเป็นแต้มของคนนั้น ถ้าขึ้นร้านเม็ดหล่นหมด ใช้หลังมือรับไม่ได้ ถือว่า "ตาย" ไม่ได้แต้ม คนอื่นเล่นต่อไป ถ้าใครตายหมากไหนก็เริ่มต้นหมากนั้น ส่วนมากกำหนดแต้ม 50-100 แต้ม เมื่อแต้มใกล้จะครบ เวลาขึ้นร้านต้องคอยระวังไม่ให้เกินแต้มที่กำหนด ถ้าเกินไปเท่าไร หมายถึงว่าต้องเริ่มต้นใหม่โดยได้แต้มที่เกินไปนั้น วิธีเล่นหมากเก็บนี้มีพลิกแพลงหลายอย่าง เช่น โยนลูกนำขึ้นเก็บทีละเม็ด เมื่อเก็บได้เม็ดหนึ่งก็โยนขึ้นพร้อมกับลูกนำ 2 - 3 - 4 เม็ด ตามลำดับ หมาก 2 - 3 -4 ก็เล่นเหมือนกัน โยนขึ้นทั้งหมด เรียกว่า "หมากพวง" ถ้าโยนลูกนำขึ้นเล่นหมาก 1- 2 -3 -4 แต่พลิกข้างมือขึ้นรับลูกนำให้เข้าในมือระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ โดยทำเป็นรูปวงกลมเตรียมไว้เรียก "หมากจุ๊บ" ถ้าใช้มือซ้ายป้อง และเขี่ยหมากให้เข้าในมือนั้นทีละลูกในหมาก 1 -2 -3 และ 4 ตามลำดับ เรียกว่า "อีกาเข้ารัง" ถ้าเขี่ยไม่เข้าจะตาย ถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือยันพื้น นิ้วอื่นปล่อยทำเป็นรูปซุ้มประตู เขี่ยหมากออกเรียกว่า "อีกาออกรัง" ถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือ ขดเป็นวงกลม นิ้วชี้ชั้ตรงนิ้ว นอกนั้นยันพื้นเป็นรูปรูปู เรียกว่า "รูปู" เมื่อจบเกมการเล่นแล้วจะมีการกำทาย ผู้ชนะจะทายผู้แพ้ ว่ามีกี่เม็ด ถ้าทายผิดจะต้องถูกเขกเข่า กี่ทีตามที่ตนเองทายจนเหลือเม็ดสุดท้าย คนทายจะถือเม็ดไว้ในมือ แล้ววนพร้อมกับร้องเพลงประกอบ เมื่อร้องจบเอามือหนึ่งกำไว้ งอข้อศอกขึ้นต้องบนมือที่กำอีกข้างหนึ่ง

ประโยชน์และคุณค่าในการเล่นหมากเก็บ

หมากเก็บ เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของเด็กไทยที่ควรอนุรักษ์ไว้ ประโยชน์จากการเล่นหมากเก็บมีดังนี้
- เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
- เป็นการฝึกสมาธิ เกิดไหวพริบในการแก้ปัญหา
- ฝีกน้ำใจเป็นนักกีฬา โดยปราศจากการพนันอันเป็นอบายมุข
- เป็นการปลูกฝังความรักความสามัคคีในหมู่เด็ก
ในสภาพสังคมปัจจุบัน ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและความเครียดในสังคม การส่งเสริมการเล่นหมากเก็บ อาจเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดช่องว่างในหมู่เด็ก สร้างความช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม เป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีให้แก่เด็ก เพื่อเติบโตเป็นสมาชิกที่ดีในสังคมไทยในอนาคต

การละเล่นซ่อนหา หรือ โป้งแปะ

 





เล่นซ่อนหา หรือ โป้งแปะ

การละเล่น ซ่อนหา หรือ โป้งแปะ เป็นการละเล่นประเภทหนึ่งของเด็กไทย ซึ่งมีมาช้านาน แต่ในปัจจุบันเราก็ยังเห็นเด็กๆ รวมกลุ่มกันเล่นซ่อนหา หรือโป้งแปะตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น หลังเลิกเรียน วันหยุดในบริเวณบานเป็นต้นซ่อนหาหรือโป้งแปะ มีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องที่ เช่น แอสไพ เป็นต้น ในกรุงเทพฯ และชานเมืองส่วนใหญ่จะเรียกว่า ซ่อนหา หรือ โป้งแปะ

ไม่มีอุปกรณ์การเล่น

วิธีการเล่น

1. ผู้ที่เป็นคนหาสามารถ โป้ง คนที่ตนเห็นในระยะไกลได้

2. ผู้ที่ถูกพบคนแรกต้องเป็นผู้หาแทน

3. ผู้หาจะต้องหาผู้ซ่อนให้ได้ครบทุกคน

4. หากผู้ซ่อนคนใดที่ผู้หายังหาไม่พบ เข้ามาแตะตัวผู้หาพร้อมกับร้องว่า แปะ ผู้หาต้องเป็นต่ออีกรอบหนึ่ง

5. ต้องกำหนดเขตการซ่อนเพื่อจะหาได้ง่าย

วิธีการเล่น

หากมีพื้นที่กว้างมากก่อนการเล่นผู้เล่นทั้งหมดอาจตกลงกันก่อนว่าห้ามซ่อนเกินเขตที่กำหนด ผู้ใดออกไปซ่อนนอกเขตถือว่าผิดกติกาจะต้องเป็นผู้หาแทน เมื่อตกลงได้แล้วถึงดำเนินการเลือกผู้ที่จะเป็นผู้หาคนหนึ่ง ตามวิธีการแบ่งกลุ่มและจัดลำดับการเล่น แล้วจึงเริ่มเล่น ผู้หาต้องปิดตา โดยใช้มือปิดหรือหันหน้าเข้าหาเสา ต้นไม้ ฯลฯ บางครั้งผู้หาอาจนับเลขไปด้วยเพื่อเป็นการให้เวลาแก่ผู้ซ่อน และผู้ที่ไปซ่อนอาจร้องว่า “ปิดตาไม่มิด สาระพิษเข้าตา พ่อแม่ทำนาได้ข้าวเม็ดเดียว” เมื่อคะเนว่าผู้ซ่อนหาที่ซ่อนได้หมดแล้ว จึงถามว่า เอาหรือยังผู้ซ่อนจะตอบว่า เอาละ ผู้หาจึงเปิดตาแล้วออกหาผู้ซ่อนตามจุดต่าง ๆ ที่คาดว่าต้องมีผู้ไปซ่อน เมื่อพบผู้ซ่อนคนใดจะต้องพูดว่า โป้ง... (ชื่อผู้ที่พบ)... ผู้นั้นจะออกมาจากที่ซ่อน ผู้หาต้องหาผู้ซ่อนต่อไปจนครบหมดทุกคนขณะหาถ้ามีผู้ซ่อนคนใดวิ่งเข้ามาแตะตัวผู้หาแล้วร้องว่า แปะผู้หา ต้องเป็นอีกรอบหนึ่ง แต่ถ้าหาผู้ซ่อนได้ครบทุกคน ผู้ถูกพบคนแรกต้องเป็นผู้หาแทน พฤติกรรมเชิงวิเคราะห์เล่นได้ทุกวัย ในการเล่นโป้งแปะถึงแม้ว่าผู้หาต้องแข่งขันกับคนอื่นจำนวนหลายคน แต่กติกาในการเล่นอนุญาตให้ผู้หา “โป้ง” ผู้เล่นอื่นได้ในระยะไกล แต่เล่นคนผู้อื่นต้องวิ่งมาถึงตัวผู้หาก่อนจึงจะ “แปะ” ได้

ประโยชน์และคุณค่าจากการเล่นซ่อนหา

1. ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต หูไว ตาไว สามารถจับทิศทางของเสียง ที่ได้ยินได้อย่างแม่นยำ
2. มีความรอบคอบและระมัดระวังตัว มีกลยุทธในการซ่อนตัว
3. รู้จักการประเมินสภาพแวดล้อม และคาดเดาสถานที่ซ่อนตัวของผู้ซ่อน
4. เป็นการฝึกบังคับการเคลื่อนไหวให้เบาที่สุดเพื่อไม่ให้ผู้หาได้ยินหรือหาพบ
5. พัฒนาจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน
วิธีการเล่น1. ผู้ที่เป็นคนหาสามารถ โป้ง คนที่ตนเห็นในระยะไกลได้
2. ผู้ที่ถูกพบคนแรกต้องเป็นผู้หาแทน
3. ผู้หาจะต้องหาผู้ซ่อนให้ได้ครบทุกคน
4. หากผู้ซ่อนคนใดที่ผู้หายังหาไม่พบ เข้ามาแตะตัวผู้หาพร้อมกับร้องว่า แปะ ผู้หาต้องเป็นต่ออีกรอบหนึ่ง
5. ต้องกำหนดเขตการซ่อนเพื่อจะหาได้ง่าย