วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การละเล่นซ่อนหา หรือ โป้งแปะ

 





เล่นซ่อนหา หรือ โป้งแปะ

การละเล่น ซ่อนหา หรือ โป้งแปะ เป็นการละเล่นประเภทหนึ่งของเด็กไทย ซึ่งมีมาช้านาน แต่ในปัจจุบันเราก็ยังเห็นเด็กๆ รวมกลุ่มกันเล่นซ่อนหา หรือโป้งแปะตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น หลังเลิกเรียน วันหยุดในบริเวณบานเป็นต้นซ่อนหาหรือโป้งแปะ มีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องที่ เช่น แอสไพ เป็นต้น ในกรุงเทพฯ และชานเมืองส่วนใหญ่จะเรียกว่า ซ่อนหา หรือ โป้งแปะ

ไม่มีอุปกรณ์การเล่น

วิธีการเล่น

1. ผู้ที่เป็นคนหาสามารถ โป้ง คนที่ตนเห็นในระยะไกลได้

2. ผู้ที่ถูกพบคนแรกต้องเป็นผู้หาแทน

3. ผู้หาจะต้องหาผู้ซ่อนให้ได้ครบทุกคน

4. หากผู้ซ่อนคนใดที่ผู้หายังหาไม่พบ เข้ามาแตะตัวผู้หาพร้อมกับร้องว่า แปะ ผู้หาต้องเป็นต่ออีกรอบหนึ่ง

5. ต้องกำหนดเขตการซ่อนเพื่อจะหาได้ง่าย

วิธีการเล่น

หากมีพื้นที่กว้างมากก่อนการเล่นผู้เล่นทั้งหมดอาจตกลงกันก่อนว่าห้ามซ่อนเกินเขตที่กำหนด ผู้ใดออกไปซ่อนนอกเขตถือว่าผิดกติกาจะต้องเป็นผู้หาแทน เมื่อตกลงได้แล้วถึงดำเนินการเลือกผู้ที่จะเป็นผู้หาคนหนึ่ง ตามวิธีการแบ่งกลุ่มและจัดลำดับการเล่น แล้วจึงเริ่มเล่น ผู้หาต้องปิดตา โดยใช้มือปิดหรือหันหน้าเข้าหาเสา ต้นไม้ ฯลฯ บางครั้งผู้หาอาจนับเลขไปด้วยเพื่อเป็นการให้เวลาแก่ผู้ซ่อน และผู้ที่ไปซ่อนอาจร้องว่า “ปิดตาไม่มิด สาระพิษเข้าตา พ่อแม่ทำนาได้ข้าวเม็ดเดียว” เมื่อคะเนว่าผู้ซ่อนหาที่ซ่อนได้หมดแล้ว จึงถามว่า เอาหรือยังผู้ซ่อนจะตอบว่า เอาละ ผู้หาจึงเปิดตาแล้วออกหาผู้ซ่อนตามจุดต่าง ๆ ที่คาดว่าต้องมีผู้ไปซ่อน เมื่อพบผู้ซ่อนคนใดจะต้องพูดว่า โป้ง... (ชื่อผู้ที่พบ)... ผู้นั้นจะออกมาจากที่ซ่อน ผู้หาต้องหาผู้ซ่อนต่อไปจนครบหมดทุกคนขณะหาถ้ามีผู้ซ่อนคนใดวิ่งเข้ามาแตะตัวผู้หาแล้วร้องว่า แปะผู้หา ต้องเป็นอีกรอบหนึ่ง แต่ถ้าหาผู้ซ่อนได้ครบทุกคน ผู้ถูกพบคนแรกต้องเป็นผู้หาแทน พฤติกรรมเชิงวิเคราะห์เล่นได้ทุกวัย ในการเล่นโป้งแปะถึงแม้ว่าผู้หาต้องแข่งขันกับคนอื่นจำนวนหลายคน แต่กติกาในการเล่นอนุญาตให้ผู้หา “โป้ง” ผู้เล่นอื่นได้ในระยะไกล แต่เล่นคนผู้อื่นต้องวิ่งมาถึงตัวผู้หาก่อนจึงจะ “แปะ” ได้

ประโยชน์และคุณค่าจากการเล่นซ่อนหา

1. ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต หูไว ตาไว สามารถจับทิศทางของเสียง ที่ได้ยินได้อย่างแม่นยำ
2. มีความรอบคอบและระมัดระวังตัว มีกลยุทธในการซ่อนตัว
3. รู้จักการประเมินสภาพแวดล้อม และคาดเดาสถานที่ซ่อนตัวของผู้ซ่อน
4. เป็นการฝึกบังคับการเคลื่อนไหวให้เบาที่สุดเพื่อไม่ให้ผู้หาได้ยินหรือหาพบ
5. พัฒนาจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน
วิธีการเล่น1. ผู้ที่เป็นคนหาสามารถ โป้ง คนที่ตนเห็นในระยะไกลได้
2. ผู้ที่ถูกพบคนแรกต้องเป็นผู้หาแทน
3. ผู้หาจะต้องหาผู้ซ่อนให้ได้ครบทุกคน
4. หากผู้ซ่อนคนใดที่ผู้หายังหาไม่พบ เข้ามาแตะตัวผู้หาพร้อมกับร้องว่า แปะ ผู้หาต้องเป็นต่ออีกรอบหนึ่ง
5. ต้องกำหนดเขตการซ่อนเพื่อจะหาได้ง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น