วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การละเล่นเป่ากบ





เป่ากบ

เป่ากบ เป็นการละเล่นของเด็กที่เล่นกันในร่ม เล่นได้ทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย เด็ก ๆ จะเรียกยางวงที่ตัวเองจะเป่าว่า “อีเต” (หมายถึง ยางที่ตัวเองมั่นใจว่าเป่าดีที่สุด) แล้วตั้งกติกาว่า ถ้าเป่ายางกบกันได้ จะได้กันครั้งละกี่เส้น อาจจะเป็นครั้งละ 5 เส้น หรือ 10 เส้น ก็แล้วแต่เด็ก ๆ จะตกลงกัน

วิธีการเล่น

ผู้เล่นมีจำนวน ๒ คน หรือเป็นทีมก็ได้ สถานที่เล่น ในที่ร่ม ใช้พื้นที่เรียบ ๆ เช่น พื้นซีเมนต์ พื้นกระดาน หรือพื้นโต๊ะ ซึ่งผู้เล่นจะเอายางเส้น จะเป็นวงเล็กหรือวงใหญ่ หรืออาจจะเป็นวงสีต่าง ๆ อยู่ที่ความชอบ ได้แก่ สีเขียว สีแดง สีน้ำตาล เป็นต้น นำมาวางบนพื้นคนละ ๑ เส้น ให้อยู่ห่างกันประมาณ ๑ ฟุต ผู้เล่นจะผลัดกันเป่ายางเส้น ของตนไปข้างหน้าทีละน้อย ๆ จนยางเส้นทั้งสองมาอยู่ใกล้กับผู้เล่นคนใดเป่าให้ยางเส้นของตนไปทับยางเส้นของฝ่ายตรงข้ามได้ก็จะเป็นผู้ชนะ ฝ่ายแพ้จะต้องจ่ายรางวัลให้กับผู้ชนะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยางเส้น แต่อาจให้รางวัลอื่นๆ ก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน

อุปกรณ์

- ยางวง (ยางเส้น) วงใหญ่ หรือวงเล็กก็ได้ แล้วแต่ความชอบและความถนัด

- ผู้เล่นจำนวนตั้งแต่ ๒ คน หรือมากกว่า เล่นทั้งเด็กชายและเด็กหญิงบางครั้งอาจเล่นเป็นทีมก็ได้

- สถานที่ เช่น พื้นซีเมนต์ พื้นกระดาน หรือพื้นโต๊ะ

ประโยชน์และคุณค่าในการละเล่นเป่ากบ

-การเล่นเป่ากบ เป็นการเล่นที่ให้ความสนุกสนานแล้วยังเป็นการฝึก การรู้กำหนดจังหวะ
- ฝึกสังเกต ไหวพริบในการเป่าของคู่ต่อสู้ ซึ่งจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เด็กรู้จักคิดให้รอบคอบก่อนที่จะเป่า ถ้าเป่าโดยไม่คิดอาจจะผิดพลาดได้
- เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักความรัก ความสามัคคี

การละเล่นม้าก้านกล้วย




ม้าก้านกล้วย

การเล่นม้าก้านกล้วยทำให้เด็กสนุกสนาน เกิดจินตนาการ ได้ออกกำลังกาย โดยเด็กจะใช้ก้านกล้วยมาทำเป็นหัว หู และหางม้า แล้วสมมติตัวเองว่าเป็นคนขี่ม้าพาวิ่ง ม้าก้านกล้วยเป็นการเล่นพื้นบ้านของเด็กที่ดีอีกชนิดหนึ่ง ที่ถือเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่น ให้เด็กๆ ได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน
วัสดุอุปกรณ์
- ก้านกล้วย , มีด , ไม้กลัด , เชือก หรือเชือกฟางก็ได้แล้วแต่เราสะดวกในการหา

วิธีทำม้าก้านกล้วย

- ตัวม้า ตัดก้านกล้วยขนาดใหญ่มาหนึ่งก้าน ให้มีความยาวประมาณ1 เมตรขึ้นไป ใช้มีดคมเลาะใบกล้วยถึงปลาย เอาส่วนกลางก้านกล้วยมาทำเป็นลำตัว
- หางม้า ปลายก้านกล้วยให้เหลือส่วนที่เป็นใบตองไว้เล็กน้อย เพื่อสมุมติให้เป็นหางม้า
- หัวม้า ก้านกล้วยตรงโคนที่มีขนาดใหญ่ ให้ใช้มีดปาดทั้งสองด้าน ความยาวประมาณ 10 ซ.
- คอม้า หักคอให้เป็นคอม้า มีหูสองข้างตั้งชันแล้วใช้ไม้กลัด แทงตรงก้านหัวให้แน่นเพื่อเป็นหัวม้า
- บังเหียนตัดเชือก ให้มีความยาวพอประมาณ ผูกตรงหัวและตรงท้ายสำหรับสะพายหรือไว้คล้องไหล่ผู้เล่น

วิธีการเล่น

ให้นำก้านกล้วยที่เปลี่ยนสภาพมาเป็นก้านกล้วยโดยสมบูรณ์แล้ว ขึ้นขี่บนก้านกล้วยแล้ว
ออกวิ่ง จากนั้นส่งเสียงร้อง ฮี้ฮี้ แต่ถ้ามีผู้เล่น2คนขึ้นไป ก็สามารถจัดเป็นการแข่งขันขึ้นได้ โดยฝ่ายไหนวิ่งเร็วที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะ

ประโยชน์และคุณค่าการเล่นม้าก้านกล้วย

- การทำท่าเหมือนม้า ทำให้เด็กมีจินตนาการ และ กล้าแสดงออก
- เป็นการออกกำลังกายอย่างดีสำหรับเด็กในวัยนั้น
- รักษาประเพณีพื้นบ้านของไทย

ในปัจจุบันนี้ การขี่ม้าก้านกล้วยเริ่มเลือนหายไปจากสังคมปัจจุบันแล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางสังคมและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปจากแต่ก่อน จึงทำให้การละเล่นเด็กไทยต่างๆ ลดลงไปมาก แต่การขี่ม้าก้านกล้วยก็ยังสามารถพบได้ตามงานวัฒนธรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว และยังกลายเป็นสัญลักษณ์ ในงานต่างๆ ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย เช่น ตัวนำโชคของ การแข่งขันเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 20 หรือ สุโขไทยเกมส์ ซึ่งเป็นรูปเด็กชายผมจุกเล่นขี่ม้าก้านกล้วย


การละเล่นงูกินหาง

งูกินหาง

"แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน..." ประโยคคุ้น ๆ ให้การเล่น งูกินหาง ที่ยังติดตรึงในความทรงจำของใครหลาย ๆ คน และเป็นที่นิยมของเด็กในทุกเทศกาล ทุกโอกาสอีกด้วย

วิธีการเล่นงูกินหาง

เริ่มจากเสี่ยงทาย ใครแพ้ต้องไปเป็น "พ่องู" ส่วนผู้ชนะที่มีร่างกายแข็งแรง ตัวใหญ่จะเป็น "แม่งู" ไว้คอยปกป้องเพื่อน ๆ คนอื่นที่เป็น "ลูกงู" จากนั้น "ลูกงู" จะเกาะเอวแม่งูและต่อแถวกันไว้ ยืนเผชิญหน้ากับ "พ่องู" จากนั้นจะเข้าสู่บทร้อง โดยพ่องูจะถามว่า
พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"
แม่งู : "กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา" (พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา)
พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"
แม่งู : "กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา" (พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา)
พ่องู : "แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน"
แม่งู : "กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา" (พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา)
จากนั้นพ่องูจะพูดว่า "กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว" แล้ววิ่งไล่จับลูกงูที่กอดเอวอยู่ ส่วนแม่งูก็ต้องป้องกันไม่ให้พ่องูจับลูกงูไปได้ เมื่อลูกงูคนไหนถูกจับ จะออกจากแถวมายืนอยู่ด้านนอก เพื่อรอเล่นรอบต่อไป หากพ่องูแย่งลูกได้หมด จะถือว่าจบเกมแล้วเริ่มเล่นใหม่ โดยพ่องูจะกลับไปเป็นแม่งูต่อในรอบต่อไป

ประโยชน์และคุณค่าของการละเล่นงูกินหาง

คือ ทำให้ผู้เล่นเกิดความสามัคคี ทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักช่วยเหลือกัน และรู้จักการต่อสู้เพื่อเอาตัวรอด เมื่อภัยมาถึงตัว นอกจากนี้ยังฝึกร่างกายให้แข็งแรง และจิตใจเบิกบานสนุกสนานไปด้วย

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การละเล่นกาฟักไข่


กาฟักไข่

ผู้เล่น   เด็กทั้งชายและหญิงไม่น้อยกว่า 3 คน

สถานที่เล่น  บนพื้นดินกลางแจ้ง

วิธีการเล่น

ขีดเส้นเป็นวงกลมบนพื้นกว้างพอสมควร นำเอาไข่ของทุกคนไปรวมกันในวงกลม แล้วหาผู้เล่น 1 คน ไปเป็นกาคอยรักษาไข่ไม่ให้ผู้เล่นคนอื่นแย่งไข่ไปได้โดยผู้เป็นกาจะใช้มือหรือเท้าป้องไข่ไว้ โดยจะป้องกันได้เฉพาะในวง จะออกนอกวงไม่ได้
ส่วนผู้แย่งไข่ต้องระวังอย่าให้มือหรือเท้าของกามาถูกตนได้ถ้าไปถูกใครเข้า คนนั้นจะต้องเข้ไปเป็นกาแทน แล้วเริ่มเล่นกันใหม่ ไข่ที่แย่งไปได้ต้องคืนหมด แต่ถ้ากาถูกแย่งไข่ไปได้หมด ผู้เป็นกาจะต้องปิดตาแล้วผู้เล่นคนอื่นจะเอาไข่ไปซ่อนตามสถานที่ใกล้ๆ นั้น
หลังจากนั้นกาต้องออกตามหาไข่ให้ได้ครบจำนวน ถ้าหาไม่ครบแล้วยอมแพ้ก็จะถูกผู้ซ่อนไข่ดึงหูพาไปหาที่ซ่อนไข่จนครบ และต้องเป็นกาต่อไป แต่ถ้ากาหาไข่ได้หมด เจ้าของไข่ที่ถูกกาหาพบคนแรกจะต้องมาเป็นกาแทน

ประโยชน์และคุณค่าการละเล่นกาฟักไข่

1. ฝึกความคล่องแคล่วว่องไว ในการเคลื่อนไหวร่างกาย
2. ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต หูไวตาไว

การละเล่นเดินกะลา





เดินกะลา

จำนวนผู้เล่น   1-2 คนขึ้นไป

อุปกรณ์

กะลาเจาะรู 2 ข้างต่อคน พร้อมเชือกความยาวประมาณจากพื้นถึงหน้าอก (เชือก 2 เส้นต่อคน)

วิธีการเล่น

ให้นำกะลามะพร้าวมาผ่าครึ่ง 1 ลูกจะได้ 2 ข้าง (สำหรับผู้เล่น 1 คน) และเจาะรูแต่ละข้างด้วย จากนั้นให้นำเชือกมาร้อยที่รู ผูกปลายไว้ ผู้เล่นจะเริ่มเล่น โดยการเอากะลาผูกเชือกมาใช้แทนรองเท้า (ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้เท้าหนีบไว้) และให้ผู้เล่นถือเชือกไว้ด้วย กำหนดเส้นเริ่มต้น และเส้นชัย?ถ้าผู้เล่นคนไหน สามารถเดินกะลาถึงเส้นชัยก่อนเป็นฝ่ายชนะ

ประโยชน์และคุณค่าจากการเล่นเดินกะลา

- เพื่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ขา
- ฝึกการทรงตัวของเด็กๆ
- ส่งเสริมด้านสังคม และ อารมณ์ ในกรณีที่มีการแข่งขัน จะทำให้มีปฏิสัมพันธ์แก่บุคคลรอบกาย รู้รักสามัคคี มีน้ำใจนักกีฬา
- รักษาประเพณีพื้นบ้านของไทย

การละเล่น มอญซ่อนผ้า




มอญซ่อนผ้า

การเล่นมอญซ่อนผ้า เป็นการเล่นที่ง่าย ไม่มีกฎกติกามากมายนักมักเป็นการละเล่นของหนุ่มสาว โดยมากจะซ่อนเป็นคู่ ๆ เป็นการเจาะจงตัวผู้ซ่อน นิยมเล่นในงานเทศกาลต่าง ๆ โดยเฉพาะเทศกาลตรุษสงกรานต์

อุปกรณ์ 

ผ้าขาวม้ามัดปลายให้เป็นปมใหญ่ ๆ เรียกว่า ผ้าตีหรือลูกตูม จำนวนของลูกตูม จะมี ๑ ใน ๓ ของจำนวน
ผู้เล่นหรือแล้วแต่จะตกลงกัน

ผู้เล่น

ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น แต่นิยมให้มีผู้เล่นมากกว่า ๘ คน เป็นชายและหญิงฝ่ายละครึ่ง

รูปแบบ

ผู้เล่นนั่งล้อมเป็นวงกลมหันหลังให้กัน ดังภาพประกอบ

วิธีการเล่น

ให้ผู้เล่นนั่งเป็นวงกลม ทั้งสองฝ่ายนั่งคละสลับกันโดยปกติถ้าแบ่งเป็นชายฝ่ายหนึ่งหญิงฝ่ายหนึ่ง จะให้ฝ่ายชายเป็นผู้ถือผ้าก่อน โดยให้ตัวแทนฝ่ายชาย ๑ หรือ ๒ คน แล้วแต่ว่าจะมีผ้าอยู่ในกลุ่มของตนกี่ผืนยืนอยู่นอกวง หรือจะให้ฝ่ายหญิงออกมาถือผ้าคละรวมกับฝ่ายชายด้วยก็ได้ แต่จะต้องมีจำนวนผู้เล่นที่ออกมาฝ่ายละเท่ากันผู้เล่นที่นั่งอยู่ในวงต้องนั่งอยู่เฉย ๆ จะหันหน้าไปมองผู้ที่ถือผ้าอยู่นอกวงไม่ได้ หรือจะบอกผู้หนึ่งผู้ใดที่ถูกซ่อนผ้าไม่ได้
ให้ผู้เล่นที่ถือผ้าอยู่นอกวงนั้นเดินรอบวง แล้วให้หาที่ซ่อนลูกตูมโดยซ่อนไว้ที่ข้างลำตัวของผู้เล่นที่นั่งอยู่เป็นผู้เล่นคนละฝ่ายกันหรือผู้ล่นเพศตรงข้าม แล้วเดินวนไปเรื่อย ๆ จนมาถึงตัวผู้ที่ถูกซ่อนลูกตูมเอาไว้ ให้ตีผู้ที่ถูกซ่อน 1 ทีด้วยลูกตูมแล้ววิ่งหนี หรือถ้าผู้เล่นที่ถูกซ่อนรู้สึกตัวให้วิ่งไล่ผู้เล่นที่นำลูกตูมมาวาง แล้วพยายามให้ลูกตูมตีผู้เล่นผู้นั้นให้ได้ ผู้เล่นที่นำ ลูกตูมไปซ่อนไว้ก็จะต้องวิ่งหนีรอบวงและพยายามวิ่งไปนั่งแทนที่ของผู้ที่ตนนำลูกตูมไปซ่อนเอาไว้ให้ได้ ถ้าถูกตีเสียก่อนจักต้องมาทำหน้าที่เช่นเดิม แต่ถ้าวิ่งหนีไปนั่งทัน ผู้ที่ถูกซ่อนลูกตูม จักต้องทำหน้าที่แทนในการเล่นรอบต่อไป

ประโยชน์และคุณค่าของการเล่นมอญซ่อนผ้า

๑.ได้ฝึกความสังเกต
๒.เป็นการออกกำลังกาย
๓.เกิดความสนุกสนานอีกด้วย
๔.เพื่อหัดให้ผู้เล่นเป็นคนว่องไว
๕.เพื่อฝึกให้ผู้เล่นเป็นคนที่มีไหวพริบและรู้จักสังเกตเหตุการณ์ต่างๆ

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การละเล่นรีรีข้าวสาร







รีรีข้าวสาร

เป็นการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยในสมัยก่อน ซึ่งในปัจจุบันนี้อาจจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยหนัก เนื่องจากวัฒนธรรมในชาติต่างๆ ได้เข้ามาแผ่หลายในประเทศไทยเรา จึงทำให้การละเล่นพื้นบ้านแบบไทยๆได้หายสาปสูญไปในยุคสมัยนี้

กติกาการเล่น

จับไม้สั้นไม้ยาว ว่าใครจะเป็นประตู ให้ผู้เล่น 2 คน ยืนเอามือประสานกันเหนือศีรษะเป็นประตูโค้ง คนอื่นๆ เกาะไหล่กันลอดใต้โค้งไปเรื่อยๆ สองคนที่เป็นประตูจะร้องเพลงประกอบเวลา แถวลอดใต้โค้ง หัวแถวจะต้องเดินอ้อมหลังคนที่เป็นประตูครั้งละหน เมื่อจบเพลงสอง คนที่เป็นประตูจะกระดุกแขนลงกั้นคนสุดท้ายให้อยู่ระหว่างกลาง คัดออกไป คนข้างหลังต้องระวังตัวให้ดี ไม่เช่นนั้นตัวเองจะต้องออกจากการเล่น ต้องผ่านให้ได้หมดทุกคนจึงจะจบ

เนื้อเพลง

รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน คดข้าวใส่จาน พานเอาคนข้างหลังไว้ให้ดี
เมื่อถึงคำสุดท้าย ซุ้มประตูก็จะลดมือลง กักตัวผู้เล่นที่เดินผ่านมา ผู้เล่นที่ถูกกักตัวจะถูกคัดออก หรืออาจจะถูกลงโทษด้วยการให้รำหรือทำท่าทางอะไรก็ได้

ประโยชน์และคุณค่าจากการเล่นรีรีข้าวสาร

การละเล่นชนิดนี้ เป็นการเล่นของเด็กอายุระหว่าง 4 – 6 ปี เล่นรวมกันทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย เด็กจะได้รับประโยชน์ การเล่น เช่น
- เพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใส ซึ่งจะทำให้เด็กๆยอมรับในกฎเกณฑ์กติกาในการเล่น
- ได้ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายให้แข็งแรง
- หัดให้เด็กมีไหวพริบ ปฏิภาณ และรู้จักใช้กลยุทธที่จะให้ตนรอดจากการถูกคล้องตัวไว้
- หัดให้เด็กรู้จักทำงานเป็นกลุ่มโดยหัวแถวต้องพยายามพาแถว โดยเฉพาะคนสุดท้ายให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวให้ได้


การละเล่นหมากเก็บ

 



หมากเก็บ

ผู้เล่น  จำนวน 2 - 4 คน

วิธีเล่น

ใช้ก้อนกรวดที่มีลักษณะกลมๆ 5 ก้อน เสี่ยงทายว่าใครจะเล่นก่อน โดยวิธีขึ้นร้าน คือ ถือหมากทั้งห้าเม็ดไว้แล้วโยนพลิกหงายหลังมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับอีกที ใครเหลือหินอยู่ในหินอยู่ในมือมากที่สุดคนนั้นเล่นก่อน มีทั้งหมด 5 หมาก หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆ กัน เลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ควรใช้เม็ดกรวดที่ห่างที่สุด โยนเม็ดนำขึ้นแล้วเก็บทีละเม็ดพร้อมกับรับลูกนำที่หล่นลงมาให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" ขณะที่หยิบเม็ดที่ทอดนั้น ถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นถือว่า ตาย
หมากที่ 2 เก็บทีละ 2 เม็ด
หมากที่ 3 เก็บทีละ 3 เม็ด
หมากที่ 4 ใช้โปะ ไม่ทอด คือ ถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้นแล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้
"ขี้นร้าน" ได้กี่เม็ดเป็นแต้มของคนนั้น ถ้าขึ้นร้านเม็ดหล่นหมด ใช้หลังมือรับไม่ได้ ถือว่า "ตาย" ไม่ได้แต้ม คนอื่นเล่นต่อไป ถ้าใครตายหมากไหนก็เริ่มต้นหมากนั้น ส่วนมากกำหนดแต้ม 50-100 แต้ม เมื่อแต้มใกล้จะครบ เวลาขึ้นร้านต้องคอยระวังไม่ให้เกินแต้มที่กำหนด ถ้าเกินไปเท่าไร หมายถึงว่าต้องเริ่มต้นใหม่โดยได้แต้มที่เกินไปนั้น วิธีเล่นหมากเก็บนี้มีพลิกแพลงหลายอย่าง เช่น โยนลูกนำขึ้นเก็บทีละเม็ด เมื่อเก็บได้เม็ดหนึ่งก็โยนขึ้นพร้อมกับลูกนำ 2 - 3 - 4 เม็ด ตามลำดับ หมาก 2 - 3 -4 ก็เล่นเหมือนกัน โยนขึ้นทั้งหมด เรียกว่า "หมากพวง" ถ้าโยนลูกนำขึ้นเล่นหมาก 1- 2 -3 -4 แต่พลิกข้างมือขึ้นรับลูกนำให้เข้าในมือระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ โดยทำเป็นรูปวงกลมเตรียมไว้เรียก "หมากจุ๊บ" ถ้าใช้มือซ้ายป้อง และเขี่ยหมากให้เข้าในมือนั้นทีละลูกในหมาก 1 -2 -3 และ 4 ตามลำดับ เรียกว่า "อีกาเข้ารัง" ถ้าเขี่ยไม่เข้าจะตาย ถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือยันพื้น นิ้วอื่นปล่อยทำเป็นรูปซุ้มประตู เขี่ยหมากออกเรียกว่า "อีกาออกรัง" ถ้าใช้นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือ ขดเป็นวงกลม นิ้วชี้ชั้ตรงนิ้ว นอกนั้นยันพื้นเป็นรูปรูปู เรียกว่า "รูปู" เมื่อจบเกมการเล่นแล้วจะมีการกำทาย ผู้ชนะจะทายผู้แพ้ ว่ามีกี่เม็ด ถ้าทายผิดจะต้องถูกเขกเข่า กี่ทีตามที่ตนเองทายจนเหลือเม็ดสุดท้าย คนทายจะถือเม็ดไว้ในมือ แล้ววนพร้อมกับร้องเพลงประกอบ เมื่อร้องจบเอามือหนึ่งกำไว้ งอข้อศอกขึ้นต้องบนมือที่กำอีกข้างหนึ่ง

ประโยชน์และคุณค่าในการเล่นหมากเก็บ

หมากเก็บ เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของเด็กไทยที่ควรอนุรักษ์ไว้ ประโยชน์จากการเล่นหมากเก็บมีดังนี้
- เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
- เป็นการฝึกสมาธิ เกิดไหวพริบในการแก้ปัญหา
- ฝีกน้ำใจเป็นนักกีฬา โดยปราศจากการพนันอันเป็นอบายมุข
- เป็นการปลูกฝังความรักความสามัคคีในหมู่เด็ก
ในสภาพสังคมปัจจุบัน ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจและความเครียดในสังคม การส่งเสริมการเล่นหมากเก็บ อาจเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดช่องว่างในหมู่เด็ก สร้างความช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม เป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีให้แก่เด็ก เพื่อเติบโตเป็นสมาชิกที่ดีในสังคมไทยในอนาคต

การละเล่นซ่อนหา หรือ โป้งแปะ

 





เล่นซ่อนหา หรือ โป้งแปะ

การละเล่น ซ่อนหา หรือ โป้งแปะ เป็นการละเล่นประเภทหนึ่งของเด็กไทย ซึ่งมีมาช้านาน แต่ในปัจจุบันเราก็ยังเห็นเด็กๆ รวมกลุ่มกันเล่นซ่อนหา หรือโป้งแปะตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น หลังเลิกเรียน วันหยุดในบริเวณบานเป็นต้นซ่อนหาหรือโป้งแปะ มีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องที่ เช่น แอสไพ เป็นต้น ในกรุงเทพฯ และชานเมืองส่วนใหญ่จะเรียกว่า ซ่อนหา หรือ โป้งแปะ

ไม่มีอุปกรณ์การเล่น

วิธีการเล่น

1. ผู้ที่เป็นคนหาสามารถ โป้ง คนที่ตนเห็นในระยะไกลได้

2. ผู้ที่ถูกพบคนแรกต้องเป็นผู้หาแทน

3. ผู้หาจะต้องหาผู้ซ่อนให้ได้ครบทุกคน

4. หากผู้ซ่อนคนใดที่ผู้หายังหาไม่พบ เข้ามาแตะตัวผู้หาพร้อมกับร้องว่า แปะ ผู้หาต้องเป็นต่ออีกรอบหนึ่ง

5. ต้องกำหนดเขตการซ่อนเพื่อจะหาได้ง่าย

วิธีการเล่น

หากมีพื้นที่กว้างมากก่อนการเล่นผู้เล่นทั้งหมดอาจตกลงกันก่อนว่าห้ามซ่อนเกินเขตที่กำหนด ผู้ใดออกไปซ่อนนอกเขตถือว่าผิดกติกาจะต้องเป็นผู้หาแทน เมื่อตกลงได้แล้วถึงดำเนินการเลือกผู้ที่จะเป็นผู้หาคนหนึ่ง ตามวิธีการแบ่งกลุ่มและจัดลำดับการเล่น แล้วจึงเริ่มเล่น ผู้หาต้องปิดตา โดยใช้มือปิดหรือหันหน้าเข้าหาเสา ต้นไม้ ฯลฯ บางครั้งผู้หาอาจนับเลขไปด้วยเพื่อเป็นการให้เวลาแก่ผู้ซ่อน และผู้ที่ไปซ่อนอาจร้องว่า “ปิดตาไม่มิด สาระพิษเข้าตา พ่อแม่ทำนาได้ข้าวเม็ดเดียว” เมื่อคะเนว่าผู้ซ่อนหาที่ซ่อนได้หมดแล้ว จึงถามว่า เอาหรือยังผู้ซ่อนจะตอบว่า เอาละ ผู้หาจึงเปิดตาแล้วออกหาผู้ซ่อนตามจุดต่าง ๆ ที่คาดว่าต้องมีผู้ไปซ่อน เมื่อพบผู้ซ่อนคนใดจะต้องพูดว่า โป้ง... (ชื่อผู้ที่พบ)... ผู้นั้นจะออกมาจากที่ซ่อน ผู้หาต้องหาผู้ซ่อนต่อไปจนครบหมดทุกคนขณะหาถ้ามีผู้ซ่อนคนใดวิ่งเข้ามาแตะตัวผู้หาแล้วร้องว่า แปะผู้หา ต้องเป็นอีกรอบหนึ่ง แต่ถ้าหาผู้ซ่อนได้ครบทุกคน ผู้ถูกพบคนแรกต้องเป็นผู้หาแทน พฤติกรรมเชิงวิเคราะห์เล่นได้ทุกวัย ในการเล่นโป้งแปะถึงแม้ว่าผู้หาต้องแข่งขันกับคนอื่นจำนวนหลายคน แต่กติกาในการเล่นอนุญาตให้ผู้หา “โป้ง” ผู้เล่นอื่นได้ในระยะไกล แต่เล่นคนผู้อื่นต้องวิ่งมาถึงตัวผู้หาก่อนจึงจะ “แปะ” ได้

ประโยชน์และคุณค่าจากการเล่นซ่อนหา

1. ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต หูไว ตาไว สามารถจับทิศทางของเสียง ที่ได้ยินได้อย่างแม่นยำ
2. มีความรอบคอบและระมัดระวังตัว มีกลยุทธในการซ่อนตัว
3. รู้จักการประเมินสภาพแวดล้อม และคาดเดาสถานที่ซ่อนตัวของผู้ซ่อน
4. เป็นการฝึกบังคับการเคลื่อนไหวให้เบาที่สุดเพื่อไม่ให้ผู้หาได้ยินหรือหาพบ
5. พัฒนาจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน
วิธีการเล่น1. ผู้ที่เป็นคนหาสามารถ โป้ง คนที่ตนเห็นในระยะไกลได้
2. ผู้ที่ถูกพบคนแรกต้องเป็นผู้หาแทน
3. ผู้หาจะต้องหาผู้ซ่อนให้ได้ครบทุกคน
4. หากผู้ซ่อนคนใดที่ผู้หายังหาไม่พบ เข้ามาแตะตัวผู้หาพร้อมกับร้องว่า แปะ ผู้หาต้องเป็นต่ออีกรอบหนึ่ง
5. ต้องกำหนดเขตการซ่อนเพื่อจะหาได้ง่าย